วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา การพัฒนาทางสติปัญญา ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน 2 ประการ คือ

1. ศักยภาพทางปัญญา คือ การสังเกต การคิด การแก้ปัญหา การปรับตัว และการใช้ภาษา

2. พุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น


การเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา และพุทธิปัญญา จากการทำกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ สิ่งที่เด็กได้จากกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมีอย่างน้อย 4 ประการ คือ

1. ความสามารถในการสังเกต การจำแนก การแจกแจง การดู ความเหมือน ความต่าง ความสัมพันธ์

2. ความสามารถในการคิด การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ

4. การสรุปข้อความรู้ หรือมโนทัศน์จากการสังเกต และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง

สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน

ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว ดังนี้

1. สาระเกี่ยวกับพืช ได้แก่ พืช เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่ ต้นไม้ ดอกไม้ ผลไม้ การปลูกพืช การใช้ประโยชน์จากพืช

2. สาระเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์ การเลี้ยงสัตว์

3. สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย ความร้อน ความเย็น

4. สาระเกี่ยวกับเคมี ได้แก่ รสผลไม้ การละลายของน้ำแข็ง

5. สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา ได้แก่ ดิน ทราย หิน ภูเขา

6. สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาว ฤดูกาล

               หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร เรียกว่า ธรรมชาติรอบตัว โดยกำหนดให้เด็กเรียน สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ

หลักการจัดกิจกรรม

ประสบการณ์วิทยาศาสตร์เป็นการสร้างเด็กให้เรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์และเนื้อหาที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กที่สำคัญมีดังนี้ (Seefeldt, 1980 : 236)

1. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็ก ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก โดยใกล้ทั้งเวลา เหมาะสมกับพัฒนาการ ความสนใจและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก

2. เอื้ออำนวยให้แก่เด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก เด็กมีธรรมชาติที่ชอบสำรวจ ตรวจค้น กระฉับกระเฉง หยิบโน่นจับนี่ จึงควรจัดประสบการณ์ที่ใช้ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้

3. เด็กต้องการและสนใจ ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการของเด็กและอยู่ในความสนใจของเด็ก ดังนั้นหากบังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในชั้นเรียน ครูควรถือโอกาสนำเหตุการณ์นั้นมาเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันในทันที

4. ไม่ซับซ้อน ประสบการณ์ที่จัดให้นั้นไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาซับซ้อน แต่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาเป็นส่วนเล็ก ๆ และจัดให้เด็กทีละส่วน ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา ทั้งนี้พื้นฐานต้องเริ่มจากระดับง่ายไม่ซับซ้อนไปสู่ระดับของการสำรวจตรวจค้น และระดับของการทดลอง ซึ่งเป็นระดับที่สร้างความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์

5. สมดุล ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้เด็กควรมีความสมดุล ทั้งนี้เพราะเด็ก ต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้พัฒนาในทุก ๆ ด้าน ซึ่งแม้ว่าเด็กจะสนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์ ครูก็ควรจัดประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ

กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจวิทยาศาสตร์ พัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น หลักการจัดกิจกรรมมีอย่างน้อย 5 ประการ ดังนี้ (ประสาท เนืองเฉลิม, 2546 : 28)

1. มีการกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจน

2. ครูเป็นผู้กำกับให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

3. กิจกรรมที่จัดขึ้นสนองตอบความสนใจของเด็ก

4. สอดคล้องกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน

5. กิจกรรมที่จัดต้องส่งเสริมให้เด็กมีภาวะสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคิดของเด็ก

            กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุก เด็กต้องได้ปฏิบัติจริงและเป็นไปได้ เด็กควรเรียนรู้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงที่มีความเป็นไปได้ เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและการกระทำ การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้โดยการลงมือทำงาน เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผู้เรียนได้ทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง เกิดจากมุมมองจากการได้สัมผัส ได้รับรู้ประสบการณ์ของตน ประสบการณ์นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า กระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้ (Burnard, 1996 : 15 - 19) การให้เด็กทำกิจกรรมเป็นการเสริมสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็ก การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญต้องเน้นการคิด การแก้ปัญหา การแสดงออกถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรม ต่อไปนี้

มีความสนใจเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

มีความอยากรู้อยากเห็น

มีพัฒนาการทางภาษาอย่างมาก

มีความสนใจค้นคว้าสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กสัมผัส

ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 5 ดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของปัญหา ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร

ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น

ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2

ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน

ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกิดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่ 1 ใหม่ แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่ 5 เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้

     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้ (Brewer, 1995 : 288 - 290)

การสังเกต ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน

การจำแนกเปรียบเทียบ การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ ถ้าเด็กเล็กมาก เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้ การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้

การวัด การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้ สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้

การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่ เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ

การทดลอง เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด เช่น การรื้อค้น การกระแทก การทุบ การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี มีการสังเกตอย่างมีความหมาย เช่น การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน เด็กจะสังเกตเห็นสีสด สีจาง ต่างกัน

การสรุปและการนำไปใช้ เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์ เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร (Hendrick, 1998 : 42) ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์

การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา สตาเคิล (Dina Stachel) ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ (สตาเคิล, 2542 : 12)

หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท

ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 หน่วยดังกล่าว เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์ แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้ หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนวันที่25/9/55 ครั้งที่12

วันนี้อาจารย์เช็คบล็อกนักศึกษา และให้นักศึกษาตามงานเนื่องจากจะสอบปลายภาคแล้วและให้นักศึกษาวิเคราะห์ข้อดี ข้อจำกัดของการนำ tablat มาใช้ในการศึกษากับเด็ก


บันทึกการเรียนการสอนวันที่18/9/55 ครั้งที่11

------------------------ขาดค่ะ ท้องเสีย------------------


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพไปจัดกิจกรรมในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนวันที่11/9/55 ครั้งที่10

    วันนี้ได้ทำกิจกรรมที่ดรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมค่ะ โดยจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์    ซึงกลุมดิฉัน ได้ทำฐานขวดกินไข่่

อุปกรณ์
1.ขวดแก้วปากกว่าไข่ต้ม
2.ไข่ต้ม 1 ฟอง
3.ไม้ขีดไฟ

วิธีทดลอง
     จุดไม้ขีดไฟแล้วหย่อนลงไปในขวดแก้ว แล้วรีบวางไว้บนปากแก้วหลังจากนั้นสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ผลสังเกตพบว่าไข่โดนดูดลงไปในขวด
หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้
        เมื่อเราใส่น้ำร้อนลงไปในขวดแก้วเป็นการทำให้โมเลกุลของอากาศในขวดแก้วมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อขวดเริ่มเย็นลงโมเลกุลของอากาศในขวดก็เย็นลงด้วย โมเลกุลเหล่านี้จะค่อยๆเคลื่อนที่เข้ามาใกล้กันและพยายามดึงลูกโป่งเข้าไปในขวด ประกอบกับโมเลกุลของอากาศภายนอกขวดก็เป็นตัวช่วยผลักลูกโป่งลงไปในขวดด้วย จากหลักการนี้จึงมีผู้คิดค้นเครื่องมือต่างๆ เช่น vacuum pump ที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆได้ด้วย

บันทึกการเรียนการสอนวันที่11/9/55 ครั้งที่9

รกมากค่ะ^^

บันทึกการเรียนการสอนวันที่11/9/55 ครั้งที่8

รูปภาพในการอบรม

บันทึกการเรียนการสอนวันที่21/8/55 ครั้งที่7


แบ่งกันเป็นกลุ่มแล้วศึกษาดูงานที่คุณครูแจกมาให้กลุ่มละเล่ม
1 ใครใหญ่
แนวคิด น้ำจะถูกแทนที่ด้วยขนาดมือของเราเอง
ขั้นตอน - นำขวดแก้วใสมาวางไว้บนกลางโต๊ะ
- เทน้ำใสลงไปให้ได้ครึ่งขวด
- ให้เด็กกำมือตัวเองแล้วหย่อนลงไปทีละคน
- ครูจะทำเครื่องหมายกำกับของทุกคนไว้
- ให้เด้กช่วยสรุปผลจากการทดลอง
สรุปผล ระดับน้ำในขวดแก้วใสจะขึ้นสูงมากกว่าเดิมตามขนาดมือของเด็กแต่ละคน

2 ใบไม้สร้างภาพ
แนวคิด สีจากใบไม้สดสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริง
ขั้นตอน - เด็กสังเกตลักษณะของใบไม้ที่เก็บมา
- นำกระดาษวาดเขียนมาพับครึ่งแบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
- วางใบไม้ทีละใบระหว่างกระดาษวาดเขียนที่พับไว้
- ใช้ค้อนไม้ค่อยๆเคาะบนกระดาษตรงบริเวณที่มีใบไม้อยู่
- เมื่อเปิดกระดาษวาดเขียนออกให้เด็กๆช่วยกันคิดหาเหตุผล
สรุปผล
1 น้ำสีจากใบไม้สดจะเป็นรูปร่างขึ้นมาบนกระดาษ
2 โครงร่างที่ได้จะได้เหมือนกับไม้ไม้ของจริงที่เป็นต้นแบบ
3 สีจากใบไม้เป็นสีธรรมชาติที่เราจะนำไปทำอะไรได้อีกบ้าง

3 มาก่อนฝน
แนวคิด น้ำเมื่อได้รับความร้อนบางส่วนจะกลายเป็นก๊าซเรียกว่าไอน้ำ

ขั้นตอน - นำขวดแก้วที่แช่เย็นเอาไว้โดยให้เด้กบอกความรู้สึกที่สัมผัสได้
- เทน้ำอุ่นใส่ขวดประมาณครึ่งขวด วางก้อนน้ำแข็งไว้บนปากขวด
- เด็กสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
- อาสาสมัครเป่าลมแรงๆเข้าไปในขวดแช่เย็นใบที่สอง
- เมื่อหยุดเป่าจะเห็นฝุ่นเมฆจางๆ
สรุปผล
1 เมฆจะก่อตัวขึ้นจากไอน้ำที่อยู่ในขวดซึ่งควบแน่นเพราะได้รับความเย็นจากน้ำแข็ง
2 กลุ่มเมฆจางๆในขวดเกิดอากาศในขวดขยายตัวและแตกกระจายออกไป
3 สภาพภายในขวดเย็นลงดังนั้นไอน้ำจากลมหายใจจึงควบแน่นกลายเป็นเมฆหรือละออง

4 ทำให้ร้อน
แนวคิด แรงเสียดท้านเป็นแรงเชิงพยายามหยุดการลื่นไหลบนสิ่งต่างๆพลังงานจำเป็นจะต้องเอาชนะแรงเสียดท้านที่เป็นความร้อน
ขั้นตอน - ครูแจกดินสอและหนังสือให้เด้กคนละหนึ่งชุด
- ให้เด็กจับดินสอด้วยมือที่ถนัด
- ถูไปมากับสันหนังสือประมาณห้าวินาที
- นำดินสอส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือไปแตะกับผิวหนัง เช่นแขน ริมฝีปาก
- เด้กบอกความรู้สึกจากการสัมผัส
สรุปผล
1 แรงเสียดท้านระหว่างดินสอกับหนังสือทำให้เกิดความร้อน
2 นำส่วนที่ได้ถูกับสันหนังสือมาแตะกับผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะริมฝีปากจะมีความรู้สึกว่าร้อน

70

บันทึกการเรียนการสอน วันที่17/7/2555 ครั้งที่6




กิจกรรม อาจารย์ให้ร่วมกลุ่มที่ได้หัวข้อเดียวกันมาแตกmapด้วยกัน เพื่เป็นแนวทางในการวางแผนการเรียนการสอน


ภาพกิจกรรม



mapวันเข้าพรรษา ของอนุบาล1









ลงมือเขียนแล้วค่ะ



ลงมือเขียนจริง



ถามความเห็นเพื่อนๆ


บันทึกการเรียนการสอนประจำวันที่10/7/55 ครั้งที่5


รถลูกโป่ง

อุปกรณ์   1.ขวดน้ำ  2.หลอดไข่มุก 3.ลูกโป่ง 4.ล้อที่ทำจากฝาน้ำ 5.ยางวง
วิธีทำ

1.เจาะขวดเพื่อนำล้อรถมาใส่ ใส่ล้อรถทั้งสองฝั่ง
                2.เจาะรู้ท้ายและบนขวด นำหลอดไข่มุกมาเสียบเข้าไป 
                3.นำลูกโป่งมามัดกับหลอดไข่มุกเป็นอันเสร็จ



หลักการ= การที่รถวิ่งได้เพราะแรงลมที่ออกมาจากลูกโป่ง       




บันทึกการเรียนการสอนประจำวันที่10/7/55 ครั้งที่5 (ต่อ)

วันนี้เป็นการนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ค่ะ และดิฉันก็จะเอาวิธีประดิษฐ์สื่อมาฝากค่ะ




กระต่ายป๊ง ป๊ง

อุปกรณ์

1 ถ้วยมาม่า  2 กล่องนม  3 ตะเกียบ  4 ไม้เสียบลูกชิ้น  5 ฝาน้ำ  6 กระดาษตกแต่ง  7 เทปกาว


วิธีทำ 


 1.นำกระดาษมาปิดถ้วยม่ามา ใช้เทปกาวพันรอบๆถ้วย




2.ตัดกล่องนมเป็นสองฝั่ง และพับตามรูปภาพ



         3.นำฝาน้ำมาติดกับกล่องนม  ติดตะเกียบด้านหลังและวาดหัวกระต่ายตกแต่ง


หลักการ= เป็นการกระทบกันของฝาน้ำและกระดาษทำให้เกิดเสียงขึ้นมา



บันทึกการเรียนการสอนประจำวันที่3/7/55 ครั้งที่4



วันนี้ครูสอนเรื่องการวิเคราะห์เนื้อหา และอาจารย์ได้ให้ดู วีดีโอ เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ และยังมีการทดลองเอาลูกอปเปิ้ลไปปั่นแล้วนำมาบีมก็จะมีน้ำ ซึ่งสะท้อนให้เก็นว่าสิ่งต่างๆบนโลกย่อมมีน้ำเป็นส่วนประกอบ น้ำมีอยู่3สถานะคือ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ



งาน ทำสื่อวิทยาศาสตร์ 2คน 1ชิ้น ทำให้เด้กเล่น และ สอนใหเด็กทำเอง
ลิงค์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
การทำแมปที่ไปดูที่สาธิตใครได้หัวข้อเดียวกันให้ทำด้วยกัน3กลุ่ม อนุบาล1 อนุบาล2 อนุบาล3

doll25

บันทึกการเรียนการสอนวันที่26/06/55 ครั้งที่3

วันนี้รู้สึกง่วงมากๆ บรรยากาศน่านอนมากเพราะเหมือนฝนจะตก ครูสอนการทำแมปในการทำแมปก็ให้เราบอกถึงหลักการ สนทนา ซักถามกันในชั้นเรียน ครูแบ่งงานให้โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น9กลุ่ม กลุ่มละ4-5คน และให้ไปศึกษาหมวดที่ตนได้ที่สาธิต ซึ่งกลุ่มดิฉันได้เรื่อง "วันเข้าพรรษา"


71

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันที่ 19 มิ.ย 55

              อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยมีคำสำคัญดังนี้

1.เด็กปฐมวัย
1.1 พัฒนาการ ด้านสติปัญญา ซึ่งแบ่งได้ เป็น
-ความคิด ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงเหตุ
-ด้านภาษา
1.2วิธีการเรียนรู้ โดยผ่านประสบการณ์ทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรสและร่างกายสัมผัส

2.การจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย
2.1 หลักในการจัดประสบการณ์
2.2 สื่อ/สภาพแวดล้อม
2.3 การประเมิน
-ประเมินจากการพูดคุย
-ประเมินจากการสังเกต
-ประเมินจากผลงาน

3.ทักษะวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
3.1การสังเกต
3.2การจำแนกประเภท
3.3การวัด
3.4การลงความเห็นกับข้อมูล
3.5ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กะพื้นที่

วันที่ 12 มิ.ย 55

             อาจารย์สั่งงานและให้สร้างบล็อก